BullionClick
บูลเลี่ยนคลิก ลงทุนทองคำ คลิ๊ก!

อะไรคือ Bitcoin Halving ?

1,304

- Advertisement -

เว็บไซต์ Bitkub.com ซึ่งเป็น Exchange Platform อับดันต้นของไทย ได้อธิบายประเด็น Bitcoin Halving ไว้อย่างละเอียด ดังนี้

การ Halving คือ การลดรางวัลบล็อกหรือ Block reward เหลือครึ่งหนึ่งหรือ 50% ให้สำหรับนักขุด Bitcoin

จากที่ทุกคนรู้กันว่า Bitcoin มีจำกัดเต็มที่อยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ทุก ๆ 210,000 Blocks (ประมาณ 4 ปีต่อ 1 ครั้ง) รางวัลจะลดลงครึ่งหนึ่งเพื่อยื้อให้ปริมาณของ Bitcoin supply นั้นถูกจำกัดลงและหายากขึ้นเรื่อย ๆ

ยิ่งมีจำนวนนักขุด (หรือเรียกอีกชื่อ คือ ผู้ยืนยันธุรกรรม) ที่มีเครื่องมือและทรัพยากรในการประมวลผลที่ทรงพลังกระจายตัวเป็นจำนวนมาก ย่อมหมายถึง ความปลอดภัยของเครือข่ายที่มากขึ้นตาม

แต่ทั้งนี้ Satoshi ยังต้องคำนึงถึงความสมดุลของ “มูลค่า” ของบล็อกเชนและความสมบูรณ์ของระบบอีกด้วย ไม่เพียงแค่การกระจายตัวของผู้ยืนยันข้อมูลที่ควรมีมาก ต้นทุนของการขุดและการทำมูลค่าของเหรียญให้ยากต่อการครอบครองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

โดยปกติแล้วบล็อกธุรกรรมของบิตคอยน์นั้น จะเกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ 10 นาทีโดยประมาณ หากใครสามารถทำการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมได้ก่อนนักขุดคนอื่น ๆ ก็จะได้ส่วนแบ่งของ Block reward ไป

Bitcoin Halving Countdown 2024 https://www.bitkub.com/halving
Bitcoin Halving Countdown 2024 | https://www.bitkub.com/halving

ทำไม Bitcoin ต้องมี Halving ?

เพื่อยืดเวลาการขุดเหรียญทั้งหมด

ปกติแล้วในช่วงก่อนเดือนพฤษภาคม 2020 ในทุก ๆ วัน จะมี Bitcoin ประมาณ 1800 ถูกค้นพบ และหลังจากเดือนพฤษภาคม 2020 นี้ รางวัลจะถูกลดลงเหลือ 900 Bitcoin ต่อวัน และยืดเวลาที่ Bitcoin จะถูกค้นพบทั้งหมด 21 ล้านเหรียญ

เพื่อลดปัญหาเงินเฟ้อ

ถ้าเหรียญถูกขุดพบน้อยลงเรื่อย ๆ จำนวนการหมุนเวียนของ Bitcoin ก็จะเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน ทำให้เกิดความหายากขึ้นไปอีก

อาจทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ?

ราคา Bitcoin ปกติจะขึ้นตาม Demand และ Supply ถ้าปริมาณเหลือน้อยลง แต่ความต้องการกลับมากขึ้น อาจจะทำให้ราคาพุ่งขึ้นสูงมากเหมือนปีก่อน ๆ ที่ผ่านมา

เราต้องมาดูกันต่อไปว่าหลัง Halving ที่จะถึงในครั้งนี้จะมีผลต่อราคาอย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการ Halving ในอดีต

  • ในช่วงปี 2012 หลังจากการ Halving ครั้งแรก

ในช่วงปี 2012 ก่อนการ Halving บิตคอยน์มีมูลค่าอยู่ที่ $2.01 ซึ่งหลังจากการ Halving ครั้งแรกเหลือ 25 BTC ต่อบล็อกราคาของบิตคอยน์เพิ่มขึ้นไปสูงถึง $270.94 (ราคาพุ่งขึ้นสูงถึง 13,480%) หลังจากนั้นราคาก็ค่อยๆ ลดลงถึง 70% จนถึงมูลค่าที่ควรจะเป็น

  • ในช่วงปี 2016 หลังจากการ Halving ครั้งที่ 2

ในช่วงปี 2016 ก่อนการ Halving บิตคอยน์มีมูลค่าอยู่ที่ $664.44 หลังจากการ Halving ครั้งที่สองเหลือ 12.5 BTC ต่อบล็อกในช่วงแรกราคาไม่หวือหวามากนัก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปเกือบ 3 ปีก่อนการบิตคอยน์กลับทำราคาทุบสถิติสูงถึง $20,000

  • ในช่วงปี 2020 หลังจากการ Halving ครั้งที่ 3

ในช่วงปี 2020 ก่อนการ Halving บิตคอยน์มีมูลค่าอยู่ที่ $9,000 หลังจากการ Halving ครั้งที่สามเหลือ 6.25 BTC ต่อบล็อก โดยราคาพุ่งจากระดับ $9,000 ไปที่ $64,000 ภายใน 12 เดือน

  • ในช่วงปี 2024 หลังจากการ Halving ครั้งที่ 4

ที่กำลังจะเกิดขึ้น (เข้าสู่ Block reward ระยะที่ 5) เหลือรางวัล 3.125 BTC ต่อบล็อก จากการคำนวนนั้น คาดว่า การทำ Bitcion Halving ครั้งที่ 4 จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2024 (ไม่แน่นอน) ที่จะถึงนี้นั่นเอง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหรือไม่อย่างไรนั้น เราต้องคอยดูกันต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: การทำงานของ Bitcoin ?

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบการทำธุรกรรมของบิตคอนย์นั้นเป็นแบบไร้ศูนย์กลาง ทุกคนที่ถือเงินดิจิทัลตัวนี้ไว้จะมีข้อมูลการทำธุรกรรมทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นชุดเดียวกันทั้งหมด ทุกๆ การรับส่งหรือการโอนบิตคอยน์ไปยังกระเป๋าดิจิทัลใดๆ หากทำธุรกรรมสำเร็จ (โดยการตรวจสอบธุรกรรมด้วยทรัพยากรของนักขุดบิตคอยน์)

รายการธุรกรรมเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บข้อมูลไว้เรียงร้อยกันเหมือนเอกสารที่ถูกจัดไว้ในกล่อง ซึ่งกล่องเหล่านี้จะถูกปิดฝาและนำไปเรียงกับกล่องก่อนหน้าเมื่อมีจำนวนธุรกรรมที่ถูกเก็บไว้ครบตามจำนวนที่กำหนด หรือเรียกว่าการจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบบล็อกเชนนั่นเอง

สำหรับในโลกของบิตคอยน์แล้ว ทุก ๆ ครั้งที่เกิดบล็อกขึ้นใหม่ (หลังจากการยืนยันธุรกรรมบล็อกนั้นสำเร็จ) นักขุดที่ใช้แรงของตัวเองในการแข่งกันตรวจสอบธุรกรรม จะได้รับรางวัลเป็น Block Reward เช่น ถ้ายืนยันธุรกรรมของบิตคอยน์สำเร็จ นักขุดก็จะได้รับเหรียญบิตคอยน์เป็นรางวัลนั่นเอง

ที่มา: Bitkub.com

ติดตาม Bitcoin Halving Countdown 2024 : คลิ๊ก

- Advertisement -

Comments are closed.

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More